วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ภาษากับวัยรุ่น



ผัสชาณิกาญจน์   หาญณรงค์   :  เรียบเรียง
               ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีการสื่อสารเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์จึงทำให้เกิดค่านิยมแปลกๆใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลาซึ่งส่งผลกระกระทบต่อเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นไทยในปัจจุบันที่ได้รับค่านิยมที่ผิดๆต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย นั่นก็คือการใช้ภาษาไทยอย่างผิดๆโดยไม่คำนึงถึงปัญหาต่างๆที่จะส่งผลกระทบตามมา ซึ่งเยาวชนในสมัยนี้มีความคิดที่ว่าการใช้คำภาษาไทยในแบบที่ผิดๆนั้นเป็นเรื่องที่เท่ห์ เก๋ ดูดี ทันสมัย และหากไม่ใช้คำที่ผิดๆก็จะถูกมองว่าเชย ล้าสมัย ตกกระแส บ้านนอก แต่เยาวชนเหล่านี้ลืมมองไปว่ากว่าที่เราจะมีภาษาไทยไว้ใช้ในปัจจุบันนั้นยากลำบากแค่ไหน
              ประเทศไทยของเรานั้นมีภาษาที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย    เราควรภาคภูมิใจในความเป็นเอกราช และภาษาของเราเอง แต่ก็มีเยาวชนในบางส่วนไม่เห็นคุณค่าของคำในภาษาไทย  ซึ่งจะนิยมใช้คำในภาษาไทยแบบที่ผิดๆทำให้คำในภาษาไทยเริ่มวิบัติลง ซึ่งเห็นได้จากการสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ โดยผ่านทางการพิมพ์ ภาษาวิบัติหรือภาษาอุบัตินั้นก็คือภาษาที่เรียกคำในภาษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการเขียนที่สะกดผิดบ่อย คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดให้แปลกแตกต่างไปจากเดิม
           ภาษาไทยเป็นภาษาที่สื่อถึงวัฒนธรรมที่แสดงถึงความสำคัญของชาติ ทำให้ภาษาเปรียบได้เสมือนกับการเป็นรั้วของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่าถ้าชนชาติใดสามารถรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้มีความบริสุทธิ์ ก็จะได้ขึ้นขื่อว่ารักษาชาติ การที่เรานั้นได้เกิดเป็นคนไทยนับเป็นโชคดีมากที่มีภาษเป็นของตนเอง นอกจากนี้ยังมีสระ พยัญชนะที่ถือว่าเป็นอักษรประจำชาติ ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ให้เราได้ใช้มาจนปัจจุบัน เราควรภูมิใจที่มีภาษใช้มามากกว่า 700 ปี
             ปัญหาการใช้คำในภาษาไทยเกิดขึ้นมาเป็นระยะยาวนานหลายสิบปี แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ยังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆโดยมีปัจจัยที่สำคัญก็คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราพบเห็นการใช้คำในภาษาไทยที่ผิดๆจนเกิดความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีการใช้ภาษาวิบัติกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่มีใช้กันเฉพาะกลุ่มซึ่งโดยส่วนมากจะไม่มี       ไวยกรณ์เป็นส่วนประกอบของภาษาที่ใช้
            สื่อเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อยู่กับเด็กและเยาวชนตลอดเวลา ดังนั้นสื่อควรตระหนักว่าตนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่น รวมทั้งการภาษา ในปัจจุบันสื่อมักมีการใช้คำที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการสร้างสีสันของข่าวและดึงดูดให้ผู้ชมผู้ฟ้งมาสนใจข่าวของตน ดังนั้นเมื่อมีการมีการสื่อสารควรจะใช้วิจารณญาณและภาษาไทยให้ถูกต้อง
             เราจะเห็นได้ว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะภาษาไทยนั้น นอกจากเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ดังนั้นภาษาไทยจึงมีความสำคัญกับวัยรุ่นไทยที่เป็นอนาคตของประเทศที่จะเป็นตัวช่วยสืบสาน รักษาภาษาไทยที่บรรพบุรุษของเราสร้างไว้ให้คงอยู่กับชาติบ้านเมืองสืบไป
แหล่งอ้างอิง www.conserv–Thai

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ภาษาพูด-ภาษาเขียน
                ภาษาพูด และ ภาษาเขียน เป็นคำที่ใช้เรียกระดับของภาษา มิได้มีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า ภาที่ใช้สำหรับพูด และภาษาที่ใช้สำหรับเขียน ภาษาพูด หมายถึง ภาษาระดับลำลองหรือภาษาระดับไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาเขียน หมายถึง ภาษาระดับแบบแผนหรือภาษาระดับทางการ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสามารถใช้สื่อสารโดยวิธีพูดหรือโดยวิธีเขียนก็ได้ กล่าวคือ เราอาจพูดเป็นภาษาเขียน หรือเขียนเป็นภาษาพูดก็ได้ เช่น
                ข้อความว่า แต่ละบ้านควรทำบัญชีให้รู้ว่าเดือนนึงๆ มีรายรับและรายจ่ายเท่าไหร่ เป็นภาษาพูด
                ข้อความเดียวกันนี้ ถ้าเป็นภาษาเขียนจะใช้ว่า แต่ละครอบครัวควรทำบัญชีให้รู้ว่าแต่ละเดือนมีรายรับและรายจ่ายเท่าไร ข้อความนี้อาจใช้พูดหรือใช้เขียนก็ได้
                ตามปรกติ เมื่อคนเราพูด มักใช้ภาษาที่เป็นทางการน้อยกว่าเมื่อเราเขียนภาษาพูดแม้จะไม่เป็นทางการนักแต่ก็สร้างความรู้สึกเป็นกันเองแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ส่วนภาษาเขียนมีลักษณะเป็นทางการ จริงจัง และสร้างความรู้สึกเหินห่างแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ดังนั้น การจะเลือกใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ผู้ใช้ภาษาต้องพิจารณาสถานการณ์ ความประสงค์ของผู้ใช้ภาษา สถานภาพและระดับความสัมพันธ์กับผู้อ่านหรือผู้ฟังเป็นสำคัญ เมื่อพูดกับเพื่อน พูดกับพ่อแม่เขียนบันทึกไดอารี่ เขียนข้อความสั้นๆ ฝากให้พี่ ควรใช้ภาษาพูด แต่ถ้าพูดรายงานหน้าชั้นเรียน พูดในที่ประชุม กล่าวสุนทรพจน์ พูดสัมภาษณ์เมื่อสมัครงานหรือเรียนต่อ เขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ เขียนข้อความสั้นๆ ถึงครู ควรใช้ภาษาเขียน
                ในนิยาย เรื่องสั้น หรือนวนิยาย เมื่อตัวละครพูดคุยกัน ผู้แต่งมักใช้ภาษาพูด และอาจเขียนเลียนตามเสียงที่พูด เช่นเขียนว่า รู้งี้ ชั้นไปหาเค้าที่บ้านซะดีกว่า แทนที่จะเขียนว่า รู้อย่างนี้ฉันไปหาเขาที่บ้านเสียดีกว่า
                เรื่อง เพื่อนกัน  เป็นเรื่องสั้น ผู้แต่ใช้ภาษาพูดอยู่ตลอดเรื่อง ภาษาพูดมีข้อควรสังเกตดังนี้
                ๑. เป็นภาษาที่ไม่ได้ตกแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษ เช่น
                                - ผมว่าตอนนี้ปู่ชักจะพูดมากไปสักหน่อย ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ผมคิดว่าตอนนี้ปู่ค่อนข้างจะพูดมากเกินไป
                                - ไม่ว่าผมจะทำอะไร จะไปไหนมาไหน ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ไม่ว่าผมจะทำอะไร หรือจะไปที่ไหน
                                - ปู่หันขวับมาทางผมทันทีแล้วส่งเสียงดังใส่ผม ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ปู่หันมาทางผมทันทีแล้วพูดกับผมด้วยเสียงอันดัง
                                - นี่แหละครับ เป็นตอนที่ผมไม่ชอบ ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจะใช้คำว่า คำพูดอย่างนี้ ผมไม่ชอบครับ
                                - ผมละหมั่นไส้ไอ้แจ้ของปู่จริงๆ ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้วอาจใช้ว่า ผมรู้สึกขวางหูขวางตาเจ้าแจ้ของปู่มาก หรือ ผมไม่ชอบเจ้าแจ้ของปู่เลย
                                - ผมเป็นคนปั่นจักรยานนะครับ มีปู่อุ้มไอ้แจ้นั่งซ้อนท้าย ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ผมเป็นคนขี่จักรยานให้ปู่อุ้มเจ้าแจ้นั่งซ้อนท้าย
                ๒. สำนวนที่ใช้ในภาษาพูดบางสำนวน หรือบางส่วนของสำนวน อาจตัดทิ้งได้หากเป็นภาษาเขียน เช่น คำหรือข้อความที่พิมพ์ด้วยตัวเอนต่อไปนี้
                                - ไม่ว่าผมจะทำอะไร จะไปไหนมาไหน ปู่เป็นต้องถามอยู่นั่นแล้วว่าผมจะไปไหน
                                - ผมออกจะรำคาญๆ อยู่
                                -ห้ามเอาเปลือกอะไรต่อมิอะไร ทิ้งในถังขยะ
                                - คนอย่างผมน่ะหรือจะเอาตัวไปเทียบกับไก่ ไปอิจฉาไก่ ไม่มีทางหรอกพ่อ
                ๓. คำและสำนวนที่ใช้ใจภาษาพูดมักมีคำลงท้าย ซึ่งแสดงความรู้สึกเจตนาหรือทัศนะบางประการ เช่น นะ น่ะ สิ ละ คำลงท้ายเหล่านี้จะไม่ปรากฏในภาษาเขียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาเขียนที่เป็นคำอธิบาย หรือคำบรรยายทางวิชาการ
                นอกจากนี้ ในภาษาไทยยังมีคำลงท้ายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งแสดงความสุภาพในภาษาพูด เช่น ครับ  ขา  คะ  ค่ะ  จ๊ะ  จ้ะ  ฮะ  และคำลงท้ายอีกกลุ่มหนึ่งจัดเป็นคำไม่สุภาพ เช่น ยะ  ย่ะ  วะ  ว่ะ  โว้ย คำลงท้ายทั้ง ๒ กลุ่มนี้ก็ไม่ปรากฏในภาษาเขียนเช่นเดียวกัน
                ๔. ในภาษาพูด มีคำจำนวนหนึ่งมักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน ได้แก่ คำที่มีความหมายเป็นคำถาม เช่น
                                หรือ                        ออกเสียงว่า           รึ, เหรอ, เรอะ
                                อย่างไร                  ออกเสียงว่า           ยังไง, ไง
                                เท่าไร                     ออกเสียงว่า           เท่าไหร่
                                เมื่อไร                    ออกเสียงว่า           เมื่อไหร่
                                ไหม                       ออกเสียงว่า           มั้ย, มะ
                คำสรรพนามบางคำ ก็มักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น
                                ฉัน                          ออกเสียงว่า           ชั้น
                                ผม                          ออกเสียงว่า           พ้ม
                                เขา                          ออกเสียงว่า           เค้า
                                ดิฉัน                       ออกเสียงว่า           ดิชั้น, ดั๊น, เดี๊ยน
                นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่มักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น
                                อย่างนี้                   ออกเสียงว่า           ยังงี้, งี้
                                อย่างนั้น                ออกเสียงว่า           ยังงั้น, งั้น
                                สัก                          ออกเสียงว่า           ซัก, ซะ
                                หนึ่ง                       ออกเสียงว่า           นึง
                คำเหล่านี้เป็นคำที่ต้องอ่านหรือออกเสียงอย่างภาษาพูด แต่ในการเขียนต้องเขียนตามรูปเขียนที่กำหนดไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

https://blog.eduzones.com/pixpeez/129478

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คำสุภาพและคำราชาศัพท์


คำสุภาพ

คำสุภาพ                                                      คำสามัญ

กระบือ                                                         ควาย

กล้วยสั้น                                                      กล้วยกุ

กล้วยเปลือกบาง  กล้วยกระ                               กล้วยไข่

ขนมดอกเหล็ก  ขนมทราย                                 ขนมขี้หนู

ขนมสอดไส้                                                  ขนมใส่ไส้

จิตรจูล  จิตรจุล                                             เต่า

ช้างนรการ                                                   ช้างสีดอ ( ช้างพลายมีงาสั้น )

ชัลลุกะ  ชัลลุกา                                            ปลิง

ดอกขจร                                                     ดอกสลิด

ดอกซ่อนกลิ่น                                               ดอกซ่อนชู้

ดอกถันวิฬาร์                                                ดอกนมแมว

ดอกทอดยอด                                              ดอกผักบุ้ง

ดอกมณฑาขาว                                            ดอกยี่หุบ

ดอกสามหาว                                               ดอกผักตบ

ดอกเหล็ก                                                  ดอกขี้เหล็ก

ตกลูก                                                       ออกลูก ( ใช้กับสัตว์ )

ต้นจะเกรง                                                  ต้นเหงือกปลาหมอ

ต้นปาริชาต  ต้นปาริฉัตร                                 ต้นทองกวาว

ต้นหนามรอบข้อ                                           ต้นพุงดอ

ต้นอเนกคุณ                                                ต้นตำแย

เถาศีรษะวานร                                             เถาหัวลิง

เถากะพังไหม                                              เถาตูดหมู  ตูดหมา

ถ่ายมูล                                                     สัตว์ขี้

ถั่วเพาะ                                                     ถั่วงอก

เถามุ้ย                                                      เถาหมามุ้ย

นางเก้ง                                                     อีเก้ง

นางเลิ้ง                                                     อีเลิ้ง

นางเห็น                                                    อีเห็น

ปลาหาง                                                   ปลาช่อน

ปลาใบไม้                                                 ปลาสลิด

ปลายาว                                                   ปลาไหล

ปลามัจฉะ                                                 ปลาร้า

ปลาลิ้นสุนัข                                               ปลาลิ้นหมา

ปลีกล้วย                                                   หัวปลี

ผลลูกกา                                                   ผลขี้กา

ผลมูลละมั่ง                                                ลูกตะลิงปลิง

ผลนางนูน                                                 ลูกอีนูน

ผลอุลิด                                                     ลูกแตงโม

ผักสามหาว                                                ผักตบ

ผักทอดยอด                                               ผักบุ้ง

ผักรู้นอน                                                   ผักกระเฉด

ผักไผ่  ผักไห่                                             ผักปลาบ

ผักนางริ้น                                                 ผักอีริ้น

ฟักเหลือง                                                 ฟักทอง

มุสิกะ                                                      หนู

มะเขือเผา                                                 มะเขือกะแพะ

เยื่อเคย                                                    กะปิ

รากดิน                                                     ไส้เดือน

โรคกลาก                                                 ขี้กลาก

โรคเกลื้อน                                                ขี้เกลื้อน

โรคเรื้อน                                                  ขี้เรื้อน

ลั่นทม (ลีลาวดี )                                        ดอกลั่นทม

ศิลา                                                        หิน

สุกร                                                        หมู

สุนัข                                                        หมา

เห็ดปลวก                                                 เห็ดโคน

หอยนางรม                                               หอยอีรม



คำราชาศํพท์
1. คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย

                                         ผม = พระเกศา                      ไหปลาร้า = พระรากขวัญ

                                         จุก = พระโมฬี                      นม = พระถัน, พระเต้า

                                        หน้าผาก = พระนลาฎ           ท้อง = พระอุทร

                                        ฟัน = พระทนต์                      เอว = บั้นพระองค์, พระกฤษฎี

                                        ลิ้น = พระชิวหา                    หลัง = พระขนอง

                                        นิ้วมือ = พระองคุลี                 บ่า = พระอังสะ

                                        นิ้วชี้ = พระดรรชนี                  ขนระหว่างคิ้ว = พระอุณาโลม

                                        เงา = พระฉายา                       จอนหู = พระกรรเจียก

                                        ผิวหน้า = พระราศี                  จมูก = พระนาสิก

                                        ปอด = พระปับผาสะ               ปาก = พระโอษฐ์

                                        คาง = พระหนุ                         อก = พระอุระ, พระทรวง

                                        หู = พระกรรณ                        รักแร้ = พระกัจฉะ

                                        ดวงหน้า = พระพักตร์            สะดือ = พระนาภี

                                        อุจจาระ = พระบังคนหนัก       น้ำตา = น้ำพระเนตร,

                                                        ต้นขา = พระอุรุ พระอัสสุชล

                                        หัวเข่า = พระชานุ                     ต้นแขน = พระพาหุ

                                        แข้ง = พระชงฆ์                         ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์

                                        ผิวหนัง = พระฉวี                       ข้อเท้า = ข้อพระบาท

                                        คิ้ว = พระขนง                           ปัสสาวะ = พระบังคนเบา

                                        ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา                ไรฟัน = ไรพระทนต์

                                        นิ้วก้อย = พระกนิษฐา                 คอ = พระศอ

                                         เนื้อ = พระมังสา                         ขน = พระโลมา

                                        เถ้ากระดูก = พระอังคาร             น้ำลาย = พระเขฬะ

                                        ตะโพก = พระโสณี                     เหงื่อ = พระเสโท 


๒. คำราชาศัพท์หมวดราชตระกูล

                                      ปู่, ตา = พระอัยกา                     ย่า, ยาย = พระอัยยิกา, พระอัยกี

                                        ลุง (ฝ่ายพ่อ) = พระปิตุลา         ป้า = พระปิตุจฉา

                                        พ่อ = พระชนก  พระบิดา         แม่ = พระชนนี, พระมารด

                                        พี่ชาย = พระเชษฐา                  พี่สาว = พระเชษฐภคินี

                                        ลูกสะใภ้ = พระสุณิสา             น้องชาย = พระอนุชา

                          พ่อผัว, พ่อตา = พระสัสสุระ     ผัว = พระสวามี

                                        พี่เขย, น้องเขย = พระเทวัน      ลูกเขย = พระชามาดา

๓. คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

                              ม่าน, มุ้ง = พระวิสูตร                        พระสูตร ประตู = พระทวาร

                              ถาดน้ำชา = ถาดพระสุธารส               คนโทน้ำ = พระสุวรรณภิงคาร

                             ของเสวย = เครื่อง                               ช้อน = ฉลองพระหัตถ์ช้อน

                             ส้อม = ฉลองพระหัตถ์ส้อม                 ปิ่น = พระจุฑามณี

                            เหล้า = น้ำจัณฑ์                                   เสื้อ = ฉลองพระองค์

                            รองท้า = ฉลองพระบาท                     ปืน = พระแสงปืน

                            ผ้าเช็ดตัว = ซับพระองค์                     ผ้าเช็ดหน้า = ซับพระพักตร์

                            กระจกส่อง = พระฉาย                         ที่นอน = พระยี่ภู่

                            กางเกง = พระสนับเพลา  พระที่ ( ราชวงศ์ )

                            ไม้เท้า = ธารพระกร                             เตียงนอน = พระแท่นบรรทม

                            น้ำกิน = พระสุธารส                             ตุ้มหู = พระกุณฑล

                            พานหมาก = พานพระศรี                     น้ำชา = พระสุธารสชา

                            ผ้าอาบน้ำ = พระภูษาชุบสรง                 ข้าว = พระกระยาเสวย

                       ( พระมหากษัตริย์ ) เข็มขัด = รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง 


ที่มา: http://www.dek-d.com/board/view/2050758/


วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คำไทยที่ใช้บ่อยและมักเขียนผิด


       



คำไทยที่ใช้บ่อยและมักเขียนผิด


      1) กะเทย VS กระเทย
          คำที่ถูก >> กะเทย
          คำที่ผิด >> กระเทย
          คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี "ร" จ้า

      2) โควตา VS โควต้า
          คำที่ถูก >> โควตา
          คำที่ผิด >>โควต้า
          ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า "ตา" นะ

      3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
          คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
          คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
         โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า "นานา" "จะจะ" ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

      4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง
          ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี "ล" นะคะ "ผลัด" แบบนี้ใช้สำหรับ "ผลัดผ้า" ค่ะ

       5) ผาสุข VS ผาสุก
          คำที่ถูก >> ผาสุก
          คำที่ผิด >> ผาสุข    
          เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ "ข" สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ "ก" สะกดค่ะ

       6) พะแนง VS พแนง
          คำที่ถูก >> พะแนง
          คำที่ผิด >> พแนง
          พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า "พะแนง"

        7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
          คำที่ถูก >> หย่าร้าง
          คำที่ผิด >> อย่าร้าง
          คำว่า "หย่า" กับ "อย่า" ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ "อย่า" เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน "หย่า" หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

        8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
            คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์
            คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
            มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น "เทศ.."  ใช้ "ก์" นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

         9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
            คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ "กงเกวียนกำเกวียน" นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

        10) กังวาล VS กังวาน
             คำที่ถูก >> กังวาน
             คำที่ผิด >> กังวาล
             กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย "น" ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

        11) อนุญาติ VS อนุญาต
              คำที่ถูก >> อนุญาต
              คำที่ผิด >> อนุญาติ
              พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ "ญาติ" ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

         12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
               คำที่ถูก >> ขี้เกียจ
               คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
               น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ "รังเกียจ" อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ "ขี้เกียจ" อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ "จ" สะกดค่ะ

         13) ศรีษะ VS ศีรษะ
              คำที่ถูก >> ศีรษะ
              คำที่ผิด >> ศรีษะ
             การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง "ร" ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น "ศ" หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า "ร" จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ "ศ" ค่ะ

        14) ผัดไทย VS ผัดไท
             คำที่ถูก >> ผัดไทย
             คำที่ผิด >> ผัดไท
            คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า "ไทย" ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

        15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
             คำที่ถูก >> อานิสงส์
             คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
             คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ "ส์"

        16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
             คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
             คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
            ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี "ร" เพียงแค่ที่เดียว คือ "เพรา" ส่วน "กะ" ไม่ต้องนะคะ
             ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี "ร" ในคำว่า "กระ" ส่วน "เพาะ" ไม่มี

        17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล 
             คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
             คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
             พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า "มูล" โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง...เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
              ส่วน "มูน" ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

        18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
              คำที่ถูก >> คลินิก
              คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
              คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ "ก" สะกดจ้า 
       
        19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
              คำที่ถูก >> อุบาทว์
              คำที่ผิด >> อุบาท
             คำที่ออกเสียงว่า "บาด" ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก "บาด" คำอื่นๆ โดยจะต้องมี "ว์" ตามหลัง "ท" เสมอค่ะ
             

        20) คัดสรร VS คัดสรรค์
             คำที่ถูก >> คัดสรร
             คำที่ผิด >> คัดสรรค์
             ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า "สัน" ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า "คัด-สัน" ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ "คัดสรร" ไม่ต้องมีตัว "ค์" จ้า เพราะคำว่า "สรร" หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

        21) สังสรรค์ VS สังสรร
             คำที่ถูก >> สังสรรค์
             คำที่ผิด >> สังสรร
             อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล "สัน" แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย "ค์" เสมอ

        22) โคตร VS โครต
              คำที่ถูก >> โคตร
              คำที่ผิด >> โครต
              ทั้ง 2 คำอ่านว่า "โคด" เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา "ร" ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

        23) จลาจล VS จราจล
              คำที่ถูก >> จลาจล
              คำที่ผิด >> จราจล
              สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า "จราจร" วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า "จราจร" ใช้ "ร" ทั้งสองตัว ส่วน "จลาจล" ก็ใช้ "ล" ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

        24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
              คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
             น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ "ด" สะกดไปเลยค่ะ
            ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า "น้ำมันก๊าซ" นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า "ก๊าซ" หรือ "แก๊ส" ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

        25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
           คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
           คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
           เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า "จัน" ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
              จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
              จันทร์ = วันจันทร์
              จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
             ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ


         กว่าจะครบ 25 คำเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาทิตย์หน้าพี่มิ้นท์ยังมีอีก 25 คำที่พวกเราเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ รับรองว่าเห็นแล้วมีตะลึงแน่นอน
         ส่วนสัปดาห์นี้ฝากน้องๆดูทั้ง 25 คำ แล้วจำให้แม่น จะได้ไม่ใช้แบบผิดๆ กันอีก :) เราคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ


        นอกจากคำว่า "นะคะ" แล้ว ยังมีคำอีกเป็นร้อยๆ ที่คนไทยมักเขียนผิดโดยไม่รู้ตัว วันนี้พี่มิ้นท์เลยรวบรวมคำที่เขียนผิดบ่อยๆ มาให้น้องๆ ดูกันในช่วงปิดเทอมนี้แหละ เผื่อมีเวลาว่างจะได้นำไปทบทวนกันค่ะ ทั้งหมด 50 คำ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยย


      1) กะเทย VS กระเทย
          คำที่ถูก >> กะเทย
          คำที่ผิด >> กระเทย
          คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี "ร" จ้า

      2) โควตา VS โควต้า
          คำที่ถูก >> โควตา
          คำที่ผิด >>โควต้า
          ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า "ตา" นะ

      3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
          คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
          คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
         โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า "นานา" "จะจะ" ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

      4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง
          ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี "ล" นะคะ "ผลัด" แบบนี้ใช้สำหรับ "ผลัดผ้า" ค่ะ

       5) ผาสุข VS ผาสุก
          คำที่ถูก >> ผาสุก
          คำที่ผิด >> ผาสุข    
          เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ "ข" สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ "ก" สะกดค่ะ

       6) พะแนง VS พแนง
          คำที่ถูก >> พะแนง
          คำที่ผิด >> พแนง
          พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า "พะแนง"

        7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
          คำที่ถูก >> หย่าร้าง
          คำที่ผิด >> อย่าร้าง
          คำว่า "หย่า" กับ "อย่า" ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ "อย่า" เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน "หย่า" หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

        8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
            คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์
            คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
            มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น "เทศ.."  ใช้ "ก์" นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

         9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
            คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ "กงเกวียนกำเกวียน" นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

        10) กังวาล VS กังวาน
             คำที่ถูก >> กังวาน
             คำที่ผิด >> กังวาล
             กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย "น" ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

        11) อนุญาติ VS อนุญาต
              คำที่ถูก >> อนุญาต
              คำที่ผิด >> อนุญาติ
              พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ "ญาติ" ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

         12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
               คำที่ถูก >> ขี้เกียจ
               คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
               น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ "รังเกียจ" อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ "ขี้เกียจ" อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ "จ" สะกดค่ะ

         13) ศรีษะ VS ศีรษะ
              คำที่ถูก >> ศีรษะ
              คำที่ผิด >> ศรีษะ
             การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง "ร" ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น "ศ" หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า "ร" จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ "ศ" ค่ะ

        14) ผัดไทย VS ผัดไท
             คำที่ถูก >> ผัดไทย
             คำที่ผิด >> ผัดไท
            คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า "ไทย" ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

        15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
             คำที่ถูก >> อานิสงส์
             คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
             คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ "ส์"

        16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
             คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
             คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
            ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี "ร" เพียงแค่ที่เดียว คือ "เพรา" ส่วน "กะ" ไม่ต้องนะคะ
             ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี "ร" ในคำว่า "กระ" ส่วน "เพาะ" ไม่มี

        17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล 
             คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
             คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
             พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า "มูล" โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง...เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
              ส่วน "มูน" ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

        18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
              คำที่ถูก >> คลินิก
              คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
              คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ "ก" สะกดจ้า 
       
        19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
              คำที่ถูก >> อุบาทว์
              คำที่ผิด >> อุบาท
             คำที่ออกเสียงว่า "บาด" ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก "บาด" คำอื่นๆ โดยจะต้องมี "ว์" ตามหลัง "ท" เสมอค่ะ
             

        20) คัดสรร VS คัดสรรค์
             คำที่ถูก >> คัดสรร
             คำที่ผิด >> คัดสรรค์
             ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า "สัน" ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า "คัด-สัน" ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ "คัดสรร" ไม่ต้องมีตัว "ค์" จ้า เพราะคำว่า "สรร" หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

        21) สังสรรค์ VS สังสรร
             คำที่ถูก >> สังสรรค์
             คำที่ผิด >> สังสรร
             อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล "สัน" แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย "ค์" เสมอ

        22) โคตร VS โครต
              คำที่ถูก >> โคตร
              คำที่ผิด >> โครต
              ทั้ง 2 คำอ่านว่า "โคด" เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา "ร" ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

        23) จลาจล VS จราจล
              คำที่ถูก >> จลาจล
              คำที่ผิด >> จราจล
              สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า "จราจร" วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า "จราจร" ใช้ "ร" ทั้งสองตัว ส่วน "จลาจล" ก็ใช้ "ล" ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

        24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
              คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
             น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ "ด" สะกดไปเลยค่ะ
            ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า "น้ำมันก๊าซ" นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า "ก๊าซ" หรือ "แก๊ส" ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

        25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
           คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
           คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
           เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า "จัน" ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
              จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
              จันทร์ = วันจันทร์
              จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
             ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ


         กว่าจะครบ 25 คำเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาทิตย์หน้าพี่มิ้นท์ยังมีอีก 25 คำที่พวกเราเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ รับรองว่าเห็นแล้วมีตะลึงแน่นอน
         ส่วนสัปดาห์นี้ฝากน้องๆดูทั้ง 25 คำ แล้วจำให้แม่น จะได้ไม่ใช้แบบผิดๆ กันอีก :) เราคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ        นอกจากคำว่า "นะคะ" แล้ว ยังมีคำอีกเป็นร้อยๆ ที่คนไทยมักเขียนผิดโดยไม่รู้ตัว วันนี้พี่มิ้นท์เลยรวบรวมคำที่เขียนผิดบ่อยๆ มาให้น้องๆ ดูกันในช่วงปิดเทอมนี้แหละ เผื่อมีเวลาว่างจะได้นำไปทบทวนกันค่ะ ทั้งหมด 50 คำ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยย



      1) กะเทย VS กระเทย
          คำที่ถูก >> กะเทย
          คำที่ผิด >> กระเทย
          คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี "ร" จ้า

      2) โควตา VS โควต้า
          คำที่ถูก >> โควตา
          คำที่ผิด >>โควต้า
          ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า "ตา" นะ

      3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
          คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
          คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
         โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า "นานา" "จะจะ" ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

      4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง
          ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี "ล" นะคะ "ผลัด" แบบนี้ใช้สำหรับ "ผลัดผ้า" ค่ะ

       5) ผาสุข VS ผาสุก
          คำที่ถูก >> ผาสุก
          คำที่ผิด >> ผาสุข    
          เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ "ข" สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ "ก" สะกดค่ะ

       6) พะแนง VS พแนง
          คำที่ถูก >> พะแนง
          คำที่ผิด >> พแนง
          พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า "พะแนง"

        7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
          คำที่ถูก >> หย่าร้าง
          คำที่ผิด >> อย่าร้าง
          คำว่า "หย่า" กับ "อย่า" ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ "อย่า" เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน "หย่า" หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

        8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
            คำที่ถูก >> มัคคุเทศก์
            คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
            มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น "เทศ.."  ใช้ "ก์" นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

         9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
            คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ "กงเกวียนกำเกวียน" นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

        10) กังวาล VS กังวาน
             คำที่ถูก >> กังวาน
             คำที่ผิด >> กังวาล
             กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย "น" ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

        11) อนุญาติ VS อนุญาต
              คำที่ถูก >> อนุญาต
              คำที่ผิด >> อนุญาติ
              พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ "ญาติ" ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

         12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
               คำที่ถูก >> ขี้เกียจ
               คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
               น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ "รังเกียจ" อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ "ขี้เกียจ" อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ "จ" สะกดค่ะ

         13) ศรีษะ VS ศีรษะ
              คำที่ถูก >> ศีรษะ
              คำที่ผิด >> ศรีษะ
             การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง "ร" ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น "ศ" หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า "ร" จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ "ศ" ค่ะ

        14) ผัดไทย VS ผัดไท
             คำที่ถูก >> ผัดไทย
             คำที่ผิด >> ผัดไท
            คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า "ไทย" ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

        15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
             คำที่ถูก >> อานิสงส์
             คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
             คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ "ส์"

        16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
             คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
             คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
            ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี "ร" เพียงแค่ที่เดียว คือ "เพรา" ส่วน "กะ" ไม่ต้องนะคะ
             ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี "ร" ในคำว่า "กระ" ส่วน "เพาะ" ไม่มี

        17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล 
             คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
             คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
             พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า "มูล" โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง...เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
              ส่วน "มูน" ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

        18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
              คำที่ถูก >> คลินิก
              คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
              คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ "ก" สะกดจ้า 
       
        19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
              คำที่ถูก >> อุบาทว์
              คำที่ผิด >> อุบาท
             คำที่ออกเสียงว่า "บาด" ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก "บาด" คำอื่นๆ โดยจะต้องมี "ว์" ตามหลัง "ท" เสมอค่ะ
             

        20) คัดสรร VS คัดสรรค์
             คำที่ถูก >> คัดสรร
             คำที่ผิด >> คัดสรรค์
             ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า "สัน" ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า "คัด-สัน" ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ "คัดสรร" ไม่ต้องมีตัว "ค์" จ้า เพราะคำว่า "สรร" หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

        21) สังสรรค์ VS สังสรร
             คำที่ถูก >> สังสรรค์
             คำที่ผิด >> สังสรร
             อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล "สัน" แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย "ค์" เสมอ

        22) โคตร VS โครต
              คำที่ถูก >> โคตร
              คำที่ผิด >> โครต
              ทั้ง 2 คำอ่านว่า "โคด" เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา "ร" ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

        23) จลาจล VS จราจล
              คำที่ถูก >> จลาจล
              คำที่ผิด >> จราจล
              สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า "จราจร" วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า "จราจร" ใช้ "ร" ทั้งสองตัว ส่วน "จลาจล" ก็ใช้ "ล" ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

        24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
              คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
             น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ "ด" สะกดไปเลยค่ะ
            ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า "น้ำมันก๊าซ" นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า "ก๊าซ" หรือ "แก๊ส" ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

        25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์
           คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
           คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
           เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า "จัน" ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
              จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
              จันทร์ = วันจันทร์
              จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
             ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ

กว่าจะครบ 25 คำเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาทิตย์หน้าพี่มิ้นท์ยังมีอีก 25 คำที่พวกเราเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ รับรองว่าเห็นแล้วมีตะลึงแน่นอน
         ส่วนสัปดาห์นี้ฝากน้องๆดูทั้ง 25 คำ แล้วจำให้แม่น จะได้ไม่ใช้แบบผิดๆ กันอีก :) เราคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ