วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

มาดู!!!! คำที่คนไทยมักเขียนผิด!!! และภาษาวิบัติที่นิยมใช้กัน!!!

1. สำอาง
แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สำอางค์" ...ควายการันต์(ค์) มาจากไหน?
2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "พากษ์" ที่เขียนกันผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)
3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เท่ห์" ...ติดมาจากคำว่า "สนเท่ห์" รึไงนะ?
4. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ผูกพันธ์" ไม่ใช่คำว่า "สัมพันธ์" นะเว้ย
5. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ลายเซ็นต์" ติดมาจาก "เปอร์เซ็นต์" รึเปล่า?
6. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ''อีเมล์" คำนี้ผมก็เขียนผิดบ่อยๆ -*- มันติดอ่ะ
7. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "แก๊งค์" หรือไม่ก็ "แกงค์"
เอ่อ...มันมาจากภาษาอังกฤษคำว่า gang นะ ควายการันต์มาจากไหน?
8. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อนุญาต" ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า "ญาติ" รึไง?รู้สึกเหมือนเราเคยอธิบายเกี่ยวกับคำนี้มาก่อนน ะในกระทู้นี้
9. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สังเกตุ" นี่ก็ผิดเยอะพอๆกับคำว่า "อนุญาต"
คงติดมาจากคำว่า "สาเหตุ" ล่ะมั้ง?
10. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ออฟฟิส" ไม่ก็ "ออฟฟิต" คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "office" แต่พอมาเป็นภาษาไทยอุตส่าห์ใช้ตัวอักษร "ศ" ให้เท่ๆแล้วเชียว
แต่ทำไมกลับสู่สามัญเป็น "ส" ล่ะ หรือไม่ก็เอาคำว่า "ฟิตเนส" มาปนมั่วไปหมด
11. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โครต" คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า "เปรต" หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมมันเซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่ร ู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดตามาเป็น "โครต" ในปัจจุบัน
12. ค่ะ
แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "คะ" คำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ถ้าจะพูดให้เสียงยาวก็เป็น "คะ" ใช้ต่อท้ายประโยคคำถาม แต่บางทีก็ใช้ "ค่ะ" ยัดลงไปเลย

ภาษาวิบัติ 
อาทิเช่น
"อารัย" = อะไร ไม่ใช่ อาลัย
"ที่นั้น" = ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
"นะค่ะ" = นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
"คับผม" = ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
"หรอ" = เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก "ร่อยหรอ"
"แร้ว" = แล้ว ไม่ใช่ "แร้ว" ที่แปลว่ากับดักนก
"งัย" = ไง
"เกมส์" = เกม ไม่ต้องเติม ส์
"เดล" = เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า "Deal" อ่านว่า "ดีล"
"สาด" = สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
"กวย" = เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
"ไฟใหม้" = ไฟไหม้
"หวัดดี" = สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
"สำคัน" = สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ "สังคัง" ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
"สัสดี" = ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า "สวัสดี"
"555" = เสียงหัวเราะ มาจาก"ฮ่าๆๆ" ดัดแปลงมาเป็น"ห้าห้าห้า"
    เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ...
และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่าคำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง
     ภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลกหากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใหม่เลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่น
: ) = ยิ้ม
XD = ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) = ยิ้มขยิบตา
-_- = ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; = ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, = ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL = ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้
/gg = giggle หรือหัวเราะขำขัน
[๐ ๐] = C = เมก้าซาวะ 

สุดท้ายนี้
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบัติๆ นะครับ
เพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก
โดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูกเดี๋ยวก็หาย


นำมาจากคุณ niceglass  ที่มา ::http://www.thaigaming.com/general-discussion/66211.htm


ข้อดี-ข้อเสีย ของภาษาวิบัติ
ข้อดี
1.ภาษาวัยรุ่นอะเพ่ เข้าจายกานหน่อย
2.มีการพัฒนาการเขียนที่หลากหลาย เช่น ก็ ก้อ ก้
3.ช่วยในการพัฒนาสมองซีกขวา(จินตนาการ)
4.แลดูสวยงาม น่าตื่นตา
5.ทำให้เป็นคนช่างประดิษฐ์ประดอย 
6.ประหยัดเวลาในการกด Shift
7.แลดูน่ารัก แอ๊บแบ๊ว
8.ภาษาวิบัติคือวิวัฒนาการของภาษา
 ข้อเสีย
1.ทำให้ภาษาไทยผิดเพี้ยน
2.เขียน/สะกดภาษาไทยไม่ถูก
3.เวลาพิมพ์งานจริงมักพิมพ์ผิดพลาด
4.ไม่ได้บริหารมือ เพราะการจะพิมพ์ให้ถูกต้องบางตัวต้องกด Shift
5.ทำให้ไม่รู้จักความงดงามของภาษา
6.อ่านไม่ออก
7.ทำให้ผู้อ่านไม่รู้ว่าผู้เขียนจะสื่อสารเรื่องอะไร
8.เป็นการเพิ่มภาระในการพิมพ์เช่น ใจ เป็น จาย , จัย (ไม่รู้สึกบ้างหรอว่ามันยุ่งยาก)
8.ถึงคราวรุ่นลูกรุ่นหลานคงได้ใช้ภาษาไทย Vol.2
9.ทำให้คุณค่าของภาษาลดลง
10.บรรพบุรุษสมัยก่อนเค้าจะคิดยังไง เมื่อภาษาที่อุตส่าห์พัฒนาประดิษฐ์ขึ้นมามันเพื่อลูกหลานมันไม่เหมือนเดิมแล้ว
http://www.dek-d.com/board/view/1302920/

""ภาษาวิบัติ""
ฟังเขาอ่านกลอนกันทุกวันนี้
แล้วอยากหนีไปนอนตายก่อนเพื่อน
อักขระวิบัติสัมผัสเลือน
ดูเสมือนไร้ความรู้ตามกัน

ฉันอ่าน"ชั้น" สรรหาเอามาอ่าน
คำว่าท่านก็เหวี่ยงเป็นเสียง"ทั่น"
ไหมอ่าน"มั๊ย" ไม่คิดจิตผูกพัน
อารมณ์ผันฟุ้งเพลินจนเกินความ

ไม้อ่าน"ม้าย" กลายกลับเปลี่ยนศัพท์แสง
ได้ก็แผลงเป็น"ด้าย" คล้ายหยาบหยาม
ใต้อ่าน"ต้าย" กลายหมดไม่งดงาม
น้ำอ่าน"น้าม" น่าคิดเสียงผิดไป

เจ้าอ่าน"จ้าว" ร้าวฉานสถานหนัก
เขาก็ยักอ่าน"เค้า" เศร้าไฉน
เช้าอ่าน"ช้าว" ร้าวรวดปวดหัวใจ
เท้าก็ไพล่เป็น"ท้าว" ก้าวตามมา

เก้าอ่าน"ก้าว" ยาวออกไปนอกเสียง
เปล่าก็เบื่ยงเป็น"ปล่าว" ใช่กล่าวหา
เล้าอ่าน"ล้าว" ยาวข้ามไปสามวา
เหลาท่านว่า"หลาว" เลยเชยกันจริง

เต้าอ่าน"ต้าว" ราวกับศัพท์วิตถาร
ร้องไห้อ่าน"ร้องห้าย" ทั้งชายหญิง
หรืออ่าน"รึ" ครึคระไม่ประวิง
ปล่อยใจดิ่งดักดานจึงทานทัด

ทั้งร้อยกรองร้อยแก้วต้องแน่วแน่
อย่าเอาแต่ตามใจให้วิบัติ
ขอวอนวานอ่านกันให้มันชัด
เพื่อช่ายพัฒนาภาษาไทย

ขอขอบคุณ ..ส. เชื้อหอม..... ผู้แต่ง
----------------------------------------------------


เห็นดีงามตามกันจึงผันผวน
ถ้อยสำนวนเน้นไปในรสชาติ
ค่านิยมชมชอบตกขอบอนาถ
เด็กทั้งชาติอาจตามเห็นงามไป

ใช่เฉพาะเจาะจงตรงแหล่งนี้
แต่ทุกที่ภาษาพาหวั่นไหว
ทั้งหนังสือสื่อมวลชนมิสนใจ
ยังชอบใช้ผิดผิดจนติดตา

หนังสือเด็กเด็กอีกควรหลีกเลี่ยง
อย่าเขียนเพียงสนุกสนานผ่านคุณค่า-
ของความจริงอิงอยู่คู่ตำรา
ควรหันมาพิทักษ์รักษากัน

เพียงวจีที่พูดพิสูจน์ใหม่
เสียงพูดไปเขียนมาอย่าให้ผัน
เขาเป็น"เค้า"เช้าเป็น"ช้าว"ร้าวฉานกัน
รู้เท่าทันก่อนสาย...อายเด็กเอย.

มาแต่รุ่นเก่าก่อนแตไหนไหน
เสียงคำไทยไหลเลื่อนเปลี่ยนไปได้
มีเสียงใช้ได้ดั่งเสียงดนตรี
รูปภาษาสรรห่ใช้ได้เหลือเฟือ
ใช้ลอลิงแทนรอเรือเราก็มี
ดูเลืองลอง ก็เรืองรอง เขียนอีกที
สุดแสนดีมีเลือกใช้สมจินตนา
-----------------------------------------

ภาษาไทยนั้นสุดยืดหยุ่น
มาแต่รุ่นเก่าก่อนแตไหนไหน
เสียงคำไทยไหลเลื่อนเปลี่ยนไปได้
มีเสียงใช้ได้ดั่งเสียงดนตรี


+++++++++++
ขอบคุณ zone-it.com ไม่รู้ว่าเคยอ่านกันยัง
ถ้าเคยแล้วก็ขอโทษด้วยนะคะ

หยุดใช้ภาษาวิบัติ

http://www.dek-d.com/board/view/1302721/

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ภาษากับวัยรุ่น



ผัสชาณิกาญจน์   หาญณรงค์   :  เรียบเรียง
               ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีการสื่อสารเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์จึงทำให้เกิดค่านิยมแปลกๆใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลาซึ่งส่งผลกระกระทบต่อเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นไทยในปัจจุบันที่ได้รับค่านิยมที่ผิดๆต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย นั่นก็คือการใช้ภาษาไทยอย่างผิดๆโดยไม่คำนึงถึงปัญหาต่างๆที่จะส่งผลกระทบตามมา ซึ่งเยาวชนในสมัยนี้มีความคิดที่ว่าการใช้คำภาษาไทยในแบบที่ผิดๆนั้นเป็นเรื่องที่เท่ห์ เก๋ ดูดี ทันสมัย และหากไม่ใช้คำที่ผิดๆก็จะถูกมองว่าเชย ล้าสมัย ตกกระแส บ้านนอก แต่เยาวชนเหล่านี้ลืมมองไปว่ากว่าที่เราจะมีภาษาไทยไว้ใช้ในปัจจุบันนั้นยากลำบากแค่ไหน
              ประเทศไทยของเรานั้นมีภาษาที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย    เราควรภาคภูมิใจในความเป็นเอกราช และภาษาของเราเอง แต่ก็มีเยาวชนในบางส่วนไม่เห็นคุณค่าของคำในภาษาไทย  ซึ่งจะนิยมใช้คำในภาษาไทยแบบที่ผิดๆทำให้คำในภาษาไทยเริ่มวิบัติลง ซึ่งเห็นได้จากการสื่อสารกันผ่านทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ โดยผ่านทางการพิมพ์ ภาษาวิบัติหรือภาษาอุบัตินั้นก็คือภาษาที่เรียกคำในภาษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการเขียนที่สะกดผิดบ่อย คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดให้แปลกแตกต่างไปจากเดิม
           ภาษาไทยเป็นภาษาที่สื่อถึงวัฒนธรรมที่แสดงถึงความสำคัญของชาติ ทำให้ภาษาเปรียบได้เสมือนกับการเป็นรั้วของชาติ ดังคำกล่าวที่ว่าถ้าชนชาติใดสามารถรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้มีความบริสุทธิ์ ก็จะได้ขึ้นขื่อว่ารักษาชาติ การที่เรานั้นได้เกิดเป็นคนไทยนับเป็นโชคดีมากที่มีภาษเป็นของตนเอง นอกจากนี้ยังมีสระ พยัญชนะที่ถือว่าเป็นอักษรประจำชาติ ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ให้เราได้ใช้มาจนปัจจุบัน เราควรภูมิใจที่มีภาษใช้มามากกว่า 700 ปี
             ปัญหาการใช้คำในภาษาไทยเกิดขึ้นมาเป็นระยะยาวนานหลายสิบปี แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ยังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆโดยมีปัจจัยที่สำคัญก็คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราพบเห็นการใช้คำในภาษาไทยที่ผิดๆจนเกิดความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีการใช้ภาษาวิบัติกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่มีใช้กันเฉพาะกลุ่มซึ่งโดยส่วนมากจะไม่มี       ไวยกรณ์เป็นส่วนประกอบของภาษาที่ใช้
            สื่อเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อยู่กับเด็กและเยาวชนตลอดเวลา ดังนั้นสื่อควรตระหนักว่าตนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่น รวมทั้งการภาษา ในปัจจุบันสื่อมักมีการใช้คำที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการสร้างสีสันของข่าวและดึงดูดให้ผู้ชมผู้ฟ้งมาสนใจข่าวของตน ดังนั้นเมื่อมีการมีการสื่อสารควรจะใช้วิจารณญาณและภาษาไทยให้ถูกต้อง
             เราจะเห็นได้ว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะภาษาไทยนั้น นอกจากเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังเป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ดังนั้นภาษาไทยจึงมีความสำคัญกับวัยรุ่นไทยที่เป็นอนาคตของประเทศที่จะเป็นตัวช่วยสืบสาน รักษาภาษาไทยที่บรรพบุรุษของเราสร้างไว้ให้คงอยู่กับชาติบ้านเมืองสืบไป
แหล่งอ้างอิง www.conserv–Thai

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ภาษาพูด-ภาษาเขียน
                ภาษาพูด และ ภาษาเขียน เป็นคำที่ใช้เรียกระดับของภาษา มิได้มีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า ภาที่ใช้สำหรับพูด และภาษาที่ใช้สำหรับเขียน ภาษาพูด หมายถึง ภาษาระดับลำลองหรือภาษาระดับไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาเขียน หมายถึง ภาษาระดับแบบแผนหรือภาษาระดับทางการ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนสามารถใช้สื่อสารโดยวิธีพูดหรือโดยวิธีเขียนก็ได้ กล่าวคือ เราอาจพูดเป็นภาษาเขียน หรือเขียนเป็นภาษาพูดก็ได้ เช่น
                ข้อความว่า แต่ละบ้านควรทำบัญชีให้รู้ว่าเดือนนึงๆ มีรายรับและรายจ่ายเท่าไหร่ เป็นภาษาพูด
                ข้อความเดียวกันนี้ ถ้าเป็นภาษาเขียนจะใช้ว่า แต่ละครอบครัวควรทำบัญชีให้รู้ว่าแต่ละเดือนมีรายรับและรายจ่ายเท่าไร ข้อความนี้อาจใช้พูดหรือใช้เขียนก็ได้
                ตามปรกติ เมื่อคนเราพูด มักใช้ภาษาที่เป็นทางการน้อยกว่าเมื่อเราเขียนภาษาพูดแม้จะไม่เป็นทางการนักแต่ก็สร้างความรู้สึกเป็นกันเองแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ส่วนภาษาเขียนมีลักษณะเป็นทางการ จริงจัง และสร้างความรู้สึกเหินห่างแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ดังนั้น การจะเลือกใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ผู้ใช้ภาษาต้องพิจารณาสถานการณ์ ความประสงค์ของผู้ใช้ภาษา สถานภาพและระดับความสัมพันธ์กับผู้อ่านหรือผู้ฟังเป็นสำคัญ เมื่อพูดกับเพื่อน พูดกับพ่อแม่เขียนบันทึกไดอารี่ เขียนข้อความสั้นๆ ฝากให้พี่ ควรใช้ภาษาพูด แต่ถ้าพูดรายงานหน้าชั้นเรียน พูดในที่ประชุม กล่าวสุนทรพจน์ พูดสัมภาษณ์เมื่อสมัครงานหรือเรียนต่อ เขียนจดหมายถึงผู้ใหญ่ เขียนข้อความสั้นๆ ถึงครู ควรใช้ภาษาเขียน
                ในนิยาย เรื่องสั้น หรือนวนิยาย เมื่อตัวละครพูดคุยกัน ผู้แต่งมักใช้ภาษาพูด และอาจเขียนเลียนตามเสียงที่พูด เช่นเขียนว่า รู้งี้ ชั้นไปหาเค้าที่บ้านซะดีกว่า แทนที่จะเขียนว่า รู้อย่างนี้ฉันไปหาเขาที่บ้านเสียดีกว่า
                เรื่อง เพื่อนกัน  เป็นเรื่องสั้น ผู้แต่ใช้ภาษาพูดอยู่ตลอดเรื่อง ภาษาพูดมีข้อควรสังเกตดังนี้
                ๑. เป็นภาษาที่ไม่ได้ตกแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษ เช่น
                                - ผมว่าตอนนี้ปู่ชักจะพูดมากไปสักหน่อย ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ผมคิดว่าตอนนี้ปู่ค่อนข้างจะพูดมากเกินไป
                                - ไม่ว่าผมจะทำอะไร จะไปไหนมาไหน ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ไม่ว่าผมจะทำอะไร หรือจะไปที่ไหน
                                - ปู่หันขวับมาทางผมทันทีแล้วส่งเสียงดังใส่ผม ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ปู่หันมาทางผมทันทีแล้วพูดกับผมด้วยเสียงอันดัง
                                - นี่แหละครับ เป็นตอนที่ผมไม่ชอบ ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจะใช้คำว่า คำพูดอย่างนี้ ผมไม่ชอบครับ
                                - ผมละหมั่นไส้ไอ้แจ้ของปู่จริงๆ ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้วอาจใช้ว่า ผมรู้สึกขวางหูขวางตาเจ้าแจ้ของปู่มาก หรือ ผมไม่ชอบเจ้าแจ้ของปู่เลย
                                - ผมเป็นคนปั่นจักรยานนะครับ มีปู่อุ้มไอ้แจ้นั่งซ้อนท้าย ภาษาที่ตกแต่งเรียบเรียงแล้ว อาจใช้ว่า ผมเป็นคนขี่จักรยานให้ปู่อุ้มเจ้าแจ้นั่งซ้อนท้าย
                ๒. สำนวนที่ใช้ในภาษาพูดบางสำนวน หรือบางส่วนของสำนวน อาจตัดทิ้งได้หากเป็นภาษาเขียน เช่น คำหรือข้อความที่พิมพ์ด้วยตัวเอนต่อไปนี้
                                - ไม่ว่าผมจะทำอะไร จะไปไหนมาไหน ปู่เป็นต้องถามอยู่นั่นแล้วว่าผมจะไปไหน
                                - ผมออกจะรำคาญๆ อยู่
                                -ห้ามเอาเปลือกอะไรต่อมิอะไร ทิ้งในถังขยะ
                                - คนอย่างผมน่ะหรือจะเอาตัวไปเทียบกับไก่ ไปอิจฉาไก่ ไม่มีทางหรอกพ่อ
                ๓. คำและสำนวนที่ใช้ใจภาษาพูดมักมีคำลงท้าย ซึ่งแสดงความรู้สึกเจตนาหรือทัศนะบางประการ เช่น นะ น่ะ สิ ละ คำลงท้ายเหล่านี้จะไม่ปรากฏในภาษาเขียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาเขียนที่เป็นคำอธิบาย หรือคำบรรยายทางวิชาการ
                นอกจากนี้ ในภาษาไทยยังมีคำลงท้ายอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งแสดงความสุภาพในภาษาพูด เช่น ครับ  ขา  คะ  ค่ะ  จ๊ะ  จ้ะ  ฮะ  และคำลงท้ายอีกกลุ่มหนึ่งจัดเป็นคำไม่สุภาพ เช่น ยะ  ย่ะ  วะ  ว่ะ  โว้ย คำลงท้ายทั้ง ๒ กลุ่มนี้ก็ไม่ปรากฏในภาษาเขียนเช่นเดียวกัน
                ๔. ในภาษาพูด มีคำจำนวนหนึ่งมักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน ได้แก่ คำที่มีความหมายเป็นคำถาม เช่น
                                หรือ                        ออกเสียงว่า           รึ, เหรอ, เรอะ
                                อย่างไร                  ออกเสียงว่า           ยังไง, ไง
                                เท่าไร                     ออกเสียงว่า           เท่าไหร่
                                เมื่อไร                    ออกเสียงว่า           เมื่อไหร่
                                ไหม                       ออกเสียงว่า           มั้ย, มะ
                คำสรรพนามบางคำ ก็มักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น
                                ฉัน                          ออกเสียงว่า           ชั้น
                                ผม                          ออกเสียงว่า           พ้ม
                                เขา                          ออกเสียงว่า           เค้า
                                ดิฉัน                       ออกเสียงว่า           ดิชั้น, ดั๊น, เดี๊ยน
                นอกจากนี้ยังมีคำบางคำที่มักออกเสียงไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น
                                อย่างนี้                   ออกเสียงว่า           ยังงี้, งี้
                                อย่างนั้น                ออกเสียงว่า           ยังงั้น, งั้น
                                สัก                          ออกเสียงว่า           ซัก, ซะ
                                หนึ่ง                       ออกเสียงว่า           นึง
                คำเหล่านี้เป็นคำที่ต้องอ่านหรือออกเสียงอย่างภาษาพูด แต่ในการเขียนต้องเขียนตามรูปเขียนที่กำหนดไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

https://blog.eduzones.com/pixpeez/129478

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คำสุภาพและคำราชาศัพท์


คำสุภาพ

คำสุภาพ                                                      คำสามัญ

กระบือ                                                         ควาย

กล้วยสั้น                                                      กล้วยกุ

กล้วยเปลือกบาง  กล้วยกระ                               กล้วยไข่

ขนมดอกเหล็ก  ขนมทราย                                 ขนมขี้หนู

ขนมสอดไส้                                                  ขนมใส่ไส้

จิตรจูล  จิตรจุล                                             เต่า

ช้างนรการ                                                   ช้างสีดอ ( ช้างพลายมีงาสั้น )

ชัลลุกะ  ชัลลุกา                                            ปลิง

ดอกขจร                                                     ดอกสลิด

ดอกซ่อนกลิ่น                                               ดอกซ่อนชู้

ดอกถันวิฬาร์                                                ดอกนมแมว

ดอกทอดยอด                                              ดอกผักบุ้ง

ดอกมณฑาขาว                                            ดอกยี่หุบ

ดอกสามหาว                                               ดอกผักตบ

ดอกเหล็ก                                                  ดอกขี้เหล็ก

ตกลูก                                                       ออกลูก ( ใช้กับสัตว์ )

ต้นจะเกรง                                                  ต้นเหงือกปลาหมอ

ต้นปาริชาต  ต้นปาริฉัตร                                 ต้นทองกวาว

ต้นหนามรอบข้อ                                           ต้นพุงดอ

ต้นอเนกคุณ                                                ต้นตำแย

เถาศีรษะวานร                                             เถาหัวลิง

เถากะพังไหม                                              เถาตูดหมู  ตูดหมา

ถ่ายมูล                                                     สัตว์ขี้

ถั่วเพาะ                                                     ถั่วงอก

เถามุ้ย                                                      เถาหมามุ้ย

นางเก้ง                                                     อีเก้ง

นางเลิ้ง                                                     อีเลิ้ง

นางเห็น                                                    อีเห็น

ปลาหาง                                                   ปลาช่อน

ปลาใบไม้                                                 ปลาสลิด

ปลายาว                                                   ปลาไหล

ปลามัจฉะ                                                 ปลาร้า

ปลาลิ้นสุนัข                                               ปลาลิ้นหมา

ปลีกล้วย                                                   หัวปลี

ผลลูกกา                                                   ผลขี้กา

ผลมูลละมั่ง                                                ลูกตะลิงปลิง

ผลนางนูน                                                 ลูกอีนูน

ผลอุลิด                                                     ลูกแตงโม

ผักสามหาว                                                ผักตบ

ผักทอดยอด                                               ผักบุ้ง

ผักรู้นอน                                                   ผักกระเฉด

ผักไผ่  ผักไห่                                             ผักปลาบ

ผักนางริ้น                                                 ผักอีริ้น

ฟักเหลือง                                                 ฟักทอง

มุสิกะ                                                      หนู

มะเขือเผา                                                 มะเขือกะแพะ

เยื่อเคย                                                    กะปิ

รากดิน                                                     ไส้เดือน

โรคกลาก                                                 ขี้กลาก

โรคเกลื้อน                                                ขี้เกลื้อน

โรคเรื้อน                                                  ขี้เรื้อน

ลั่นทม (ลีลาวดี )                                        ดอกลั่นทม

ศิลา                                                        หิน

สุกร                                                        หมู

สุนัข                                                        หมา

เห็ดปลวก                                                 เห็ดโคน

หอยนางรม                                               หอยอีรม



คำราชาศํพท์
1. คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย

                                         ผม = พระเกศา                      ไหปลาร้า = พระรากขวัญ

                                         จุก = พระโมฬี                      นม = พระถัน, พระเต้า

                                        หน้าผาก = พระนลาฎ           ท้อง = พระอุทร

                                        ฟัน = พระทนต์                      เอว = บั้นพระองค์, พระกฤษฎี

                                        ลิ้น = พระชิวหา                    หลัง = พระขนอง

                                        นิ้วมือ = พระองคุลี                 บ่า = พระอังสะ

                                        นิ้วชี้ = พระดรรชนี                  ขนระหว่างคิ้ว = พระอุณาโลม

                                        เงา = พระฉายา                       จอนหู = พระกรรเจียก

                                        ผิวหน้า = พระราศี                  จมูก = พระนาสิก

                                        ปอด = พระปับผาสะ               ปาก = พระโอษฐ์

                                        คาง = พระหนุ                         อก = พระอุระ, พระทรวง

                                        หู = พระกรรณ                        รักแร้ = พระกัจฉะ

                                        ดวงหน้า = พระพักตร์            สะดือ = พระนาภี

                                        อุจจาระ = พระบังคนหนัก       น้ำตา = น้ำพระเนตร,

                                                        ต้นขา = พระอุรุ พระอัสสุชล

                                        หัวเข่า = พระชานุ                     ต้นแขน = พระพาหุ

                                        แข้ง = พระชงฆ์                         ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์

                                        ผิวหนัง = พระฉวี                       ข้อเท้า = ข้อพระบาท

                                        คิ้ว = พระขนง                           ปัสสาวะ = พระบังคนเบา

                                        ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา                ไรฟัน = ไรพระทนต์

                                        นิ้วก้อย = พระกนิษฐา                 คอ = พระศอ

                                         เนื้อ = พระมังสา                         ขน = พระโลมา

                                        เถ้ากระดูก = พระอังคาร             น้ำลาย = พระเขฬะ

                                        ตะโพก = พระโสณี                     เหงื่อ = พระเสโท 


๒. คำราชาศัพท์หมวดราชตระกูล

                                      ปู่, ตา = พระอัยกา                     ย่า, ยาย = พระอัยยิกา, พระอัยกี

                                        ลุง (ฝ่ายพ่อ) = พระปิตุลา         ป้า = พระปิตุจฉา

                                        พ่อ = พระชนก  พระบิดา         แม่ = พระชนนี, พระมารด

                                        พี่ชาย = พระเชษฐา                  พี่สาว = พระเชษฐภคินี

                                        ลูกสะใภ้ = พระสุณิสา             น้องชาย = พระอนุชา

                          พ่อผัว, พ่อตา = พระสัสสุระ     ผัว = พระสวามี

                                        พี่เขย, น้องเขย = พระเทวัน      ลูกเขย = พระชามาดา

๓. คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

                              ม่าน, มุ้ง = พระวิสูตร                        พระสูตร ประตู = พระทวาร

                              ถาดน้ำชา = ถาดพระสุธารส               คนโทน้ำ = พระสุวรรณภิงคาร

                             ของเสวย = เครื่อง                               ช้อน = ฉลองพระหัตถ์ช้อน

                             ส้อม = ฉลองพระหัตถ์ส้อม                 ปิ่น = พระจุฑามณี

                            เหล้า = น้ำจัณฑ์                                   เสื้อ = ฉลองพระองค์

                            รองท้า = ฉลองพระบาท                     ปืน = พระแสงปืน

                            ผ้าเช็ดตัว = ซับพระองค์                     ผ้าเช็ดหน้า = ซับพระพักตร์

                            กระจกส่อง = พระฉาย                         ที่นอน = พระยี่ภู่

                            กางเกง = พระสนับเพลา  พระที่ ( ราชวงศ์ )

                            ไม้เท้า = ธารพระกร                             เตียงนอน = พระแท่นบรรทม

                            น้ำกิน = พระสุธารส                             ตุ้มหู = พระกุณฑล

                            พานหมาก = พานพระศรี                     น้ำชา = พระสุธารสชา

                            ผ้าอาบน้ำ = พระภูษาชุบสรง                 ข้าว = พระกระยาเสวย

                       ( พระมหากษัตริย์ ) เข็มขัด = รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง 


ที่มา: http://www.dek-d.com/board/view/2050758/